บทความ อัตมโนทัศน์

 



เข้าใจ อัตมโนทัศน์ เมื่อไหร ก็สามารถเป็นคนที่ตัวเองอยากเป็นเมื่อนั้น 

 

 

บอกตามตรงนะครับว่า ตั้งแต่เกิดมา  ผมยังไม่เคยได้ยินคำว่า อัตมโนทัศน์ มาก่อนเลย เพิ่งจะมาเข้าใจความหมายของมัน ก็วันนี้  ล่ะครับ 

 

นี่ก็ ถือเป็นข้อดีของการทำพอดแคสต์นะครับ มันทำให้เรา  ได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ  ในทุก ๆ วันเลย

 

ซึ่งคำว่าอัตมโนทัศน์นี้นะครับ ผมได้อ่านมาจากหนังสือที่ชื่อว่า อ่านจิตรู้ใจผู้อื่น ของอีซามุไซโต้ครับ

 

คุณไซโต้   เขาได้หยิบยก ทฤษฎีอัตมโนทัศน์ของนักจิตวิทยาที่ชื่อว่า แชวเวลซัน มาเล่าให้ฟังครับ 

 

โดยคำว่าอัตมโนทัศน์นี้นะครับ ก็คือ ความสามารถในการรับรู้ ศักยภาพของตนเอง ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน และทัศนคติ ผ่านการประเมินด้วยตัวของเราเองครับ 

 

อาจจะพูดได้ว่าถ้าใครก็ตามเข้าใจทฤษฎีนี้

 ก็จะเป็นคนที่ สามารถเข้าใจตัวเองได้อย่างแท้จริงครับ สามารถรู้ได้ว่าเราเป็นคนแบบไหน แล้วจะพัฒนาตัวเองให้เป็นในแบบที่เราอยากเป็นได้อย่างไร 

 

ประเด็นก็คือ การที่จะทำความเข้าใจตัวเอง ด้วยทฤษฎีนี้นะครับ จำเป็นต้องเขียนด้วยนะครับ ดังนั้นคุณผู้อ่านที่อยากจะรู้จักตัวเอง   ก็พอส พอดแคสต์ไว้ก่อนนะครับ แล้วไปเตรียมปากกาและกระดาษมาให้พร้อม เพราะเดี๋ยวผมต้องถามคำถาม 2-3 คำถามกับคุณผู้อ่านด้วยครับ 

 

โดย แชลเวลซัน เขาได้วิเคราะห์ลักษณะของมนุษย์เรานะครับ ออกเป็น 4 ด้านด้วยกัน 

ได้แก่ อัตมโนทัศน์ทางวิชาการ 

อัตมโนทัศน์ทางสังคม 

อัตมโนทัศน์ทางอารมณ์ 

และอัตมโนทัศน์ทางกายภาพครับ 

 

การที่เราจะรู้จักตัวเองได้นะครับ เราต้องรู้ให้ได้ก่อนครับว่า แต่ละแนวคิดเหล่านี้ มีอิทธิพลกับตัวเรามากน้อยแค่ไหน 

 

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่ามีคนชมคุณผู้อ่านนะครับว่า

คุณผู้อ่าน  เล่นกีฬาเก่ง คุณผู้อ่านก็จะคิดว่าตัวเองถนัดเรื่องนั้น แล้วคุณผู้อ่าน ก็จะเริ่มฝึกฝนเกี่ยวกับสิ่งนั้นให้เก่งมากยิ่งขึ้น อาจจะพูดง่าย ๆ ได้ว่า เมื่อการยอมรับจากคนรอบข้างเพิ่มมากขึ้น คุณผู้อ่านก็จะยิ่งเชื่อมั่นมากขึ้นนั่นเองครับ 

 

โอเคครับ ถ้าเตรียมกระดาษและปากกาพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลยนะครับ 

 

อันดับแรกนะครับ ให้คุณผู้อ่าน  เขียนจุดเด่นของตัวเองเท่าที่จะนึกออก ลงไปในกระดาษ ตามหัวข้อที่ผมจะบอกนะครับ 

 

ข้อที่ 1 เรียกว่าอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ครับ

ให้คุณผู้อ่าน  เขียนวิชาที่คุณผู้อ่านถนัด หรือจุดเด่นเกี่ยวกับการทำงานของผู้ฟัง ว่ามีอะไรบ้าง ลงไปนะครับ 

 

เอาเท่าที่นึกออกครับ ไม่ต้องซีเรียสกับมันมากนะครับ 

 

ต่อไปข้อที่ 2 เรียกว่าอัตมโนทัศน์ด้านสังคม 

ให้คุณผู้อ่านเขียนถึงจุดเด่นของคุณผู้อ่าน ในตอนที่เข้าสังคมนะครับ ว่าคุณผู้อ่าน  เป็นคนที่เข้าสังคมเก่งมากน้อยแค่ไหน 




ต่อไปข้อที่ 3 ครับ อัตมโนทัศน์ด้านอารมณ์ 

ให้คุณผู้อ่านเขียนถึงจุดเด่นเกี่ยวกับอารมณ์ของคุณผู้อ่านนะครับ เช่นเป็นคนโกรธง่ายหรือไม่ก็เป็นคนที่ใจดีมาก ๆ อะไรประมาณนั้นนะครับ 

 

ต่อไปข้อสุดท้ายครับ อัตมโนทัศน์ทางกายภาพ 

ให้คุณผู้อ่าน  เขียนถึงจุดเด่นด้านร่างกายของคุณใผู้ฟัง ก็คือรูปลักษณ์ภายนอกของคุณผู้อ่านเป็นอย่างไร 

เช่นเป็นคนตัวสูง หรือมีรูปร่างอ้วน เป็นต้นนะครับ 

 

เอาละครับ เมื่อเขียนเสร็จแล้วนะครับ ก็มาฟังการวิเคราะห์กันเลยดีกว่าครับ 

 

โดยเขาบอกว่า 

ถ้าคุณผู้อ่านสามารถเขียนอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ ได้มาก 

แสดงว่าเป็นคนที่ใส่ใจเรื่องวุฒิการศึกษาและการทำงาน นั่นเองครับ 

 

ถ้าคุณผู้อ่านเขียนอัตมโนทัศน์ด้านสังคมได้มาก  แสดงว่าคุณผู้อ่าน เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์อย่างมากเลยครับ 

 

ถ้าคุณผู้อ่านเขียนเกี่ยวกับอัตมโนทัศน์ทางอารมณ์มาก แสดงว่าคุณผู้อ่านให้ความสำคัญต่ออารมณ์มากกว่าเหตุผล 

 

และข้อสุดท้าย ถ้าคุณผู้อ่านเขียนอัตมโนทัศน์ทางกายภาพมาก แสดงว่าคุณผู้อ่านใส่ใจทักษะด้านกีฬาหรือรูปลักษณ์ภายนอกมากนั่นเองครับ 

 

เมื่อฟังมาถึงตรงนี้นะครับ ถ้าคุณผู้อ่านคนไหน  รู้สึกว่า ฉันแทบจะไม่ได้เขียนอะไร ลงไปเลย ใน 4 ข้อ 

เพราะฉัน  มองไม่เห็นจุดเด่นของตัวเองเลย มองเห็นแต่ด้านลบทั้งนั้น ก็อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ร้ายไปนะครับ 

 

เพราะอัตมโนทัศน์  มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาครับ 

 

หรือถ้าจะพูดก็คือ อัตมโนทัศน์ที่คุณผู้อ่านได้ทำไป  นั่นคือตัวคุณผู้อ่านในปัจจุบันนี้นั่นเองครับ ถ้าคุณผู้อ่านรู้สึกไม่ชอบใจในคำตอบของตัวเอง แล้วอยากจะเปลี่ยนแปลง ก็ให้คุณผู้อ่านนะครับ วาดภาพอัตมโนทัศน์ที่คุณผู้อ่านต้องการในหัว 

 

วาดภาพว่าตัวเองต่อจากนี้นั้น อยากจะเป็นแบบไหน และจงหล่อเลี้ยงความรู้สึกนั้น ให้เติบโตขึ้น 

จนกลายเป็นตัวของคุณผู้อ่าน ในแบบที่คุณผู้อ่านอยากเป็นให้ได้ครับ 

 

แล้วเมื่อวันนั้นมาถึง ถ้าคุณผู้อ่านกลับมาทำแบบทดสอบอันนี้อีกครั้ง รับรองได้เลยครับว่า คุณผู้อ่านจะพึงพอใจกับคำตอบของตัวเองอย่างแน่นอน 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความ แตะตัวทำให้ชอบกันได้ไหม

วิธีลืมความรักครั้งเก่า

ทำไมคุณถึงไม่ควรแคร์คำพูดของป้าข้างบ้าน

บทความ ทำนายชีวิตรัก ด้วยความรักทั้ง 6 รูปแบบ

บทความ งานวิจัยเผย การพูดคุยกับคนแปลกหน้าจะทำให้เรามีความสุข