บทความ วิธีจัดการกับความคาดหวัง ในเป้าหมายของตัวเอง

 




วิธีจัดการกับความคาดหวัง ในเป้าหมายของตัวเอง 

 

สวัสดีครับยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทสรุปฉบับแฮม แฮม พอดแคสต์ ดำเนินรายการโดยผม แฮม มติ พงศ์ ตรึกตรอง

 

วันนี้ผมเอาบทความของ จอน คารี่ นักศึกษามหาวิทยาลัย California มาฝากกันครับ โดยจอน  เขาได้เขียนสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องของ ความคาดหวังลงไปในบล็อกส่วนตัวของเขานะครับ 

 

เขาตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า คนที่คาดหวังในความสำเร็จ

มักจะไม่เคยสมหวัง ครับ

ซึ่งเขา ครับ ได้เล่าถึงจุดกำเนิดของความคิดนี้ของเขานะครับ ก็คือ ในวันหนึ่งที่เขากำลังสอบอยู่  เขาก็เกิดอยากจะประเมินตัวเองขึ้นมาครับ ว่าตัวเอง  จะทำข้อสอบวิชานี้ได้กี่คะแนน 

 

โดยความคาดหวังของจอนนะครับ ก็คืออยากจะได้คะแนนจากวิชานี้  สักประมาณ 50 คะแนนครับ แต่ปรากฏว่า เมื่อผลสอบออกมาแล้ว  เขากลับทำได้เพียงแค่20 คะแนนเท่านั้น 

 

ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ผิดคาดมาก ๆ ครับ  แต่หลังจากนั้นนะครับ เขาก็เลย ทำแบบสอบถาม อย่างไม่เป็นทางการขึ้นมานะครับ 

โดยเหตุผลที่เรียกว่า ไม่เป็นทางการก็เพราะว่า เขาไม่ได้ทำเป็นโผลสำรวจ หรือว่าทำงานวิจัยนะครับ แค่อยากรู้เป็นการส่วนตัวเท่านั้น 

 

โดยเขา  ก็ตั้งโจทย์กับเพื่อน ๆ ของเขานะครับ ขณะที่อยู่หน้าห้องสอบว่า ตัวเพื่อน ๆ ของเขา  คาดหวังกับคะแนนสอบมากแค่ไหน และคิดว่าตัวเอง  จะใช้เวลาทำข้อสอบในวันนี้สักเท่าไหร่นะครับ 

 

ซึ่งผลการสำรวจนี้นะครับ ก็ออกมาว่า ไม่มีเพื่อนคนไหนเลยครับ ที่สามารถทำได้ ตามที่ตัวเองคาดหวังไว้

 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการทำข้อสอบ หรือว่า เรื่องคะแนนสอบก็ตาม

 

เขาจึงตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า คนเราส่วนใหญ่  จะไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้เลย 

 

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนบอกว่า ปีนี้ฉันจะลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม พวกเขามักจะทำได้น้อยกว่า 10 กิโลกรัมเสมอครับ 

 

ซึ่งถ้าสมมติฐานของเขาเป็นความจริงนะครับ ก็เท่ากับว่าคนส่วนใหญ่  จะต้อง ประสบกับสภาวะผิดหวังเสมอ หากตั้งความหวังครับ 

 

เมื่อจอนคิดแบบนั้นนะครับ เขาก็เลยพยายามหาวิธีแก็ไขครับ ว่าจะทำยังไงได้บ้างนะครับ เพื่อที่จะทำให้ความผิดหวังครั้งนี้  มันไม่ทำให้เรารู้สึกแย่มากจนเกินไป

 

แต่ระหว่างที่จอห์นกำลังค้นคว้าเรื่องนี้นะครับ เขาก็ได้ ค้นพบข้อเท็จจริง 2 ข้อครับ 

 

ข้อที่ 1 นะครับ เขาค้นพบว่า 

 

เมื่อการตั้งความคาดหวังของเขา  มักจะไม่ประสบผลสำเร็จนะครับ แล้วสมมุติว่า ถ้าเกิดเขาเกิดตั้งความหวัง กับเป้าหมายของเขา  ให้ใหญ่กว่าเดิมขึ้นมาล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น 

 

ยกตัวอย่างเช่น จากปกติเขาจะคาดหวังให้ตัวเอง  ได้คะแนนสอบประมาณ 50% เท่านั้น ก็คือพอผ่านนั่นแหละครับ ซึ่งผลสอบก็ไม่เคยถึงครึ่งเลยสักครั้ง

แต่เมื่อเขาลองเปลี่ยนทัศนคติ แล้วตั้งเป้าหมายว่า ฉันจะต้องทำข้อสอบให้ได้ 100 คะแนนเต็ม 

 

ผลการทดลองด้วยตัวเองของเขานะครับ ก็ออกมาว่า เขา  สามารถทำคะแนนสอบของตัวเองได้ดีขึ้น กว่าตอนที่เขาตั้งเป้าหมายเพียงแค่ 50% อย่างมากเลยทีเดียว

 

สวนข้อเท็จจริงที่ 2 นะครับก็คือ จอน  เค้าบอกว่า เวลาอาจารย์สั่งรายงานให้ทำนะครับ หากอาจารย์สั่งตอนต้นเทอม แล้วให้ส่งตอนปลายเทอม  เขามักที่จะสังเกตเห็นว่า จะมีนักศึกษามากมายครับ ที่ทำงานไม่เสร็จ

ส่งไม่ทันตามเวลาที่กำหนด 

 

ในขณะที่หากอาจารย์สั่งงานวันนี้ แล้วให้ส่งพรุ่งนี้เลย  กลับกลายเป็นว่า แทบจะไม่มีนักศึกษาคนไหนเลย 

ที่ลืมทำการบ้านมาส่งนะครับ 

ดังนั้นจอน  เขาก็เลยสรุปว่า ถ้าข้อสมมติฐานของเขาเป็นความจริง การทำตามเป้าหมายระยะสั้น ย่อมมีโอกาสทำให้สำเร็จ มากกว่าเป้าหมายระยะยาวอย่างมีนัยยะสำคัญครับ  

 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่าอาทิตย์นี้เราจะอ่านหนังสือเล่มนี้ให้จบ ให้เราตั้งเป้าหมายระยะสั้นเลยครับว่า ชั่วโมงนี้เราจะอ่านกี่หน้า เป็นต้นนะครับ 

 

เพราะว่าการอ่านหนังสือจบ 1 หน้า มันง่ายกว่าการอ่านหนังสือจบ 1 เล่มอย่างมากเลยทีเดียว 

 

ดังนั้นหากคุณผู้อ่านคนไหนก็ตามนะครับ ที่กำลังรู้สึกผิดหวังกับผลลัพธ์จากเป้าหมายที่ได้วางไว้ ก็ลองนำเอาแนวคิดของจอห์นไปใช้ดูนะครับ 

 

ข้อที่ 1 ก็คือ จงวางเป้าหมายให้ใหญ่กว่าเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ อย่างน้อย 2 เท่า 

 

และข้อที่ 2 จงให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะสั้นให้มาก ๆ  เพราะมันมีโอกาสทำสำเร็จได้ง่ายกว่า 


สามารถฟังบทความดีๆ ในรูปแบบของพอดแคสต์ได้นะครับ

จาก บทสรุปฉบับแฮมแฮม  พอดแคสต์

ทุกแพลตฟอร์มเลยครับ^^


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความ แตะตัวทำให้ชอบกันได้ไหม

วิธีลืมความรักครั้งเก่า

ทำไมคุณถึงไม่ควรแคร์คำพูดของป้าข้างบ้าน

บทความ ทำนายชีวิตรัก ด้วยความรักทั้ง 6 รูปแบบ

บทความ งานวิจัยเผย การพูดคุยกับคนแปลกหน้าจะทำให้เรามีความสุข