บทความ เมื่อลูกถามเรื่องเงิน
เมื่อเร็ว ๆ นี้นะครับ
ผมได้อ่าน
รายงานข่าวของ
CNBC
ครับ
โดยได้มีบริษัทบริหารความมั่งคั่งของสหรัฐฯแห่งหนึ่งครับ
ได้ทำการสำรวจผู้ปกครอง 1,000
คนนะครับ
เกี่ยวกับความกังวลที่มีต่ออนาคตของลูก ๆ ของเขาครับ
และพวกเขาก็ได้พบนะครับว่ามีผู้ปกครองจำนวน มากถึง 2 ใน 3 เลยทีเดียวครับ
ที่บอกว่า
พวกเขา “กังวลมากครับ” เกี่ยวกับการส่งเสริมนิสัยทางการเงินที่ดี
ให้กับลูก ๆ ของพวกเขานะครับ
ที่เป็นแบบนั้นนะครับก็เพราะว่า
พ่อแม่ส่วนใหญ่ รู้สึกว่าตัวเองนะครับ
ไม่ค่อยจะเก่งเรื่องการเงินสักเท่าไหร่ครับ และพวกเขานะครับ
ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถ สั่งสอนลูกเกี่ยวกับเรื่องของการเงินได้ด้วยนะครับ
เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ ก็ไม่ค่อยจะมีเงินนะครับ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า
จะทำยังไงถึงจะสามารถมีเงินเยอะ ๆ ได้ บางคน ปัจจุบันก็ยังกู้หนี้ยืมสินอยู่เลย
ก็เลยรู้สึกว่า ตัวเอง ไม่มีคุณสมบัติในการสอนเกี่ยวกับเรื่องนิสัยทางการเงินให้แก่ลูกนะครับ
แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นนะครับ เราก็พบว่า
ในแบบสอบถาม พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะคาดหวังครับ
อยากจะให้ลูกของตัวเอง มีเสถียรภาพทางการเงินเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
อยากให้ลูกประสบความสำเร็จร่ำรวยและสุขสบายครับ
แน่นอนครับว่าในแบบสอบถาม เราจะเห็นได้เลยนะครับ
ถึงความตั้งใจของพ่อแม่ทุกคนครับ ที่จะทุ่มเทสุดกำลังครับ เพื่อที่จะทำให้ลูกของตัวเอง
ได้ทำงานทำการที่ดี และมีความมั่นคง
ในอนาคตนะครับ
แต่พวกเขา กลับไม่เต็มใจนะครับ
ที่จะคุยหรือว่าสอนเรื่องเงินเงินทองทองกับลูก ๆ ของตัวเอง อย่างจริงจังครับ
ซึ่งเหตุผลที่เขาไม่สอนนะครับ
นอกจากเขาจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการเงินมากนักแล้วนะครับ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ
พ่อแม่ส่วนใหญ่นะครับ ไม่ต้องการให้ลูกนะครับ
มานั่งกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินของครอบครัวตัวเองด้วยนั่นเองครับ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามนะครับ
นักวิชาการส่วนใหญ่ก็ยังลงความเห็นครับว่า การปลูกฝังและการส่งเสริมนิสัยทางการเงินที่ดีให้กับเด็กนะครับ
จะทำให้พวกเขา เติบโตขึ้นมา
เป็นผู้ใหญ่ที่ ดูแลตัวเองได้มากกว่า มีความรับผิดชอบทางการเงินมากกว่า
และมีชีวิตที่ดีกว่าอีกด้วยครับ
โดยในพอดแคสต์วันนี้นะครับ ผมได้รวบรวม 3 แนวคิดของการสอน
เกี่ยวกับเรื่องของการเงินสำหรับสอนเด็ก ๆ มาฝาก คุณผู้อ่านนะครับ เชื่อว่าแนวคิดที่ผมจะนำเสนอให้ฟังในวันนี้
จะต้องเป็นประโยชน์ในการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนิสัยการใช้เงินของลูก ๆ ของ
คุณผู้อ่านอย่างแน่นอนครับ
ถ้าพร้อมกันแล้วเรามาฟังกันเลยนะครับ
แนวคิดที่ 1 นะครับจากคุณ Stacy
Francis นักวางแผนการเงินชาวอเมริกันนะครับ เธอได้กล่าวไว้ว่า
พ่อแม่หลายคนนะครับ
มักจากกังวลและลังเลที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการเงิน กับลูก ๆ ของพวกเขานะครับเนื่องจากพ่อแม่เหล่านั้น
มีรายได้ที่ค่อนข้างต่ำนะครับแล้วก็มักจะ
เป็นหนี้เป็นสินอยู่ด้วย ทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่มีคุณสมบัติที่จะพูดคุยเรื่องเงินกับลูก
ๆ นะครับ
แต่คุณฟรานซิส เขาก็บอกว่า
เมื่อพูดถึงการให้การศึกษากับลูก ๆ ในด้านการเงินแล้ว
ความรู้นั้นจริง ๆ แล้วมันไม่สำคัญเลยครับ
การเริ่มต้นในการปลูกฝังแนวคิดที่ดีในการใช้เงินกับลูกนะครับ
อาจจะไม่ต้องเริ่มจากการสอนอย่างจริงจังเสมอไปก็ได้ครับ แต่ให้เรา เริ่มจากการกล่าวชมและการตักเตือน
พฤติกรรมในการใช้เงินของลูกครับ
นั่นก็คือ หากลูกมีพฤติกรรมในเชิงบวก
อย่างเช่นรู้จักเก็บออม รู้จักใช้เงินซื้อของที่เป็นประโยชน์
เราก็ควรที่จะชื่นชมเขานะครับ ให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี
และควรทำต่อไป
แต่หากเขามีพฤติกรรมในเชิงลบเกี่ยวกับด้านการเงิน
อย่างเช่นใช้เงินฟุ่มเฟือยเกินตัว นำเงินไปซื้อของที่ไม่มีประโยชน์
มีการหยิบยืมเงินของคนอื่นหรือนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อนเราก็ต้องไม่ปล่อยผ่านนะครับ
แต่ควรที่จะตักเตือนให้เขาได้รู้ตัวนะครับว่า
การทำแบบนี้ มันไม่ดีเลย
ต่อไปแนวคิดที่ 2 นะครับ
สอนลูกบริหารเงินด้วยค่าขนม
แนวคิดนี้นะครับ
ก็คือแนวคิดที่ว่าถึงเรื่องของการให้เงินค่าขนมลูกครับ ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินได้กล่าวว่า
หากคุณอยากจะให้ลูกรู้จักบริหารเงินและใช้เงินอย่างมีเหตุมีผล
ก็จงให้ค่าขนมลูกและให้เขาบริหารเงินค่าขนมด้วยตัวของพวกเขาเอง ครับ
อาจจะเริ่มจากการให้บริหารโดยการให้ค่าขนมเป็นรายรายวัน
แล้วค่อยกระเถิบเป็นรายอาทิตย์ ก่อนที่จะกลายเป็นรายเดือน ในที่สุด ครับ
ถ้าทำแบบนี้เด็กจะมีนิสัยในการฝึกบริหารเงินที่มีและคิดหาวิธีใช้อย่างไรให้เพียงพอนั้นเองครับ
ต่อไปคือแนวคิดที่ 3 นะครับ
จงเป็นแบบอย่างที่ดีให้เขาได้เห็นครับ
แน่นอนว่าหากพฤติกรรมของพ่อแม่นะครับ
ทำให้ลูกเห็นว่าพฤติกรรมการใช้เงินแบบผิด ๆ นั้นเป็นเรื่องปกติ
พวกเขาก็จะลอกเลียนแบบมาจากเรานั่นแหละครับ
ดังนั้นจงเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เขานะครับ
อะไรที่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
อย่างเช่นซื้อของฟุ่มเฟือย กูหนี้ยืมสิน นำเงินอนาคตมาใช้ก่อน
ก็อย่าพยายามแสดงพฤติกรรมรเหล่านี้ ให้ลูกได้เห็นครับ เพราะเขาจะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
ที่สำคัญก็คือบางครอบครัว อาจจะมีปัญหาทางการเงินนะครับ จนบางครั้ง อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องหยิบยืมเงินจากบัญชีธนาคารลูก
หรือเงินเก็บของลูกมาใช้ก่อน
ซึ่งผมเชื่อว่านั่นคงจะเป็นทางเลือกสุดท้าย
สำหรับผู้ปกครองทุกคนอยากแน่นอน
แต่หากมันเกิดขึ้นจริงนะครับ ก็จงจำไว้ว่า
ถึงแม้จะเป็นเงินของลูกนะครับ แต่หากเราหยิบยืมเงินของเขามาแล้ว
เราก็ต้องคืนนะครับ แสดงให้เขาเห็นว่าความพยายามในการเก็บเงินของเขานั้นไม่ได้เสียเปล่า
เพราะหากคุณเอาเงินของเขาไปใช้
แล้วคุณไม่คืนเขาโดยอ้างว่า เงินทั้งหมดก็เป็นเงินที่คุณให้เขา
การกระทำแบบนี้จะทำให้ลูก ๆ ของคุณนะครับ
หมดกำลังใจในการฝึกบริหารเงินในที่สุดครับ
ทั้ง 3 แนวคิดนี้นะครับ
คือแนวคิดในการส่งเสริมนิสัยทางการเงินที่ดี ให้กับลูกครับ
โดยที่เรา
แทบจะไม่ต้องเอ่ยสอนเกี่ยวกับเรื่องของการเงินเลยแม้แต่น้อยครับ
แต่อย่างไรก็ตามนะครับ หากลูกของ
คุณผู้อ่านเกิดมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเงิน และเกิดถามกับ คุณผู้อ่านขึ้นมา
ไม่ว่ายังไงเราก็ควรที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง กับลูกเสมอนะครับ ซึ่งหากเราไม่รู้หรือไม่มีข้อมูล
ก็จงอย่าให้ข้อมูลผิด ๆ ครับ
แต่ต้องไปศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องแล้วค่อยนำมาบอกลูกในภายหลัง
เชื่อว่าถ้าทำแบบนั้นลูก ๆ ของ คุณผู้อ่านทุกท่านจะโตขึ้นมา เป็นผู้ใหญ่ที่ บริหารเงินเก่งอย่างแน่นอนครับ
สามารถฟังบทความดีๆ ในรูปแบบของพอดแคสต์ได้นะครับ
จาก บทสรุปฉบับแฮมแฮม พอดแคสต์
ทุกแพลตฟอร์มเลยครับ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น