บทความ สิ่งที่หนังสือไม่ได้บอก
คำถามที่มักจะมีคนถามเข้ามาเยอะมากที่สุดเลยก็คือ
จุดเริ่มต้นเป็นยังไง ยากไหม วันนี้ก็เลยอยากจะมาเล่าถึงช่วงเวลาที่ผม เริ่มทำพอดแคสต์ให้ฟังนะครับ
จริง ๆ จุดเริ่มต้นของผมนะครับ
ก็เป็นเหมือนกับพอดแคสเตอร์คนอื่น ๆ นั่นก็คือเริ่มทำรายการของตัวเองขึ้นมาเพียงลำพัง ตอนแรกก็เริ่มจากการหาซาวด์ประกอบตอนเปิดรายการก่อนครับ
แล้วก็ค่อยคิด Concept ของรายการ ว่าจะพูดในรูปแบบไหน
ใช้เวลาในการคิด Concept และทุกอย่าง รวมแล้วประมาณ 1
อาทิตย์ด้วยกันหลังจากนั้น ผมก็ยังไม่ลงมือทำพอดแคสต์ นะครับแต่ผม เลือกที่จะไปฟังพอดแคสต์ของคนอื่นก่อนครับ
อยากรู้ว่าคนอื่นน่ะ เขาจัดรายการกันยังไงแล้วก็พูดกันดีมากแค่ไหน พูดง่ายๆ ก็คือเดือนธันวาคมทั้งเดือน
ผมใช้มันหมดไปกับการนั่งฟังพอดแคสต์ของทุก ๆ คนเลยครับ
จนมีวันหนึ่ง ตอนประมาณใกล้จะกลางเดือนธันวาคม
ผมก็ได้ไปพบกับหนังสือเสียงเล่มหนึ่งเข้าครับ
มันชื่อว่า เลิกนิสัยทำอะไรก็ไม่สำเร็จสักอย่าง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ทำให้ผมทึ่งกับแนวคิดในหนังสือ
เอามากๆ เพราะสิ่งที่หนังสือแนะนำนะมันสวนทางกับสิ่งที่ผมกำลังทำอย่างสิ้นเชิง
หนังสือเล่มนี้เขาพยายามอธิบายให้เราฟังนะครับว่า การจะทำอะไรสักอย่างนั้นเป็นสิ่งที่เหนื่อย
เพราะโดยทั่วไปแล้วคน คนหนึ่ง ไม่ได้ มีกำลังที่จะสามารถทำอะไร ได้มากขนาดนั้น
เพราะฉะนั้นการที่คนเราคนเดียวจะทำการใหญ่โดยลำพัง จึงเป็นเรื่องที่ยาก (คือยากนะครับไม่ได้แปลว่าทำไม่ได้)
เขาบอกว่ามนุษย์เรา ครับจะชอบเดินหนีจากสิ่งที่ทำให้เราเหนื่อยและสิ่งที่ทำให้เราไม่สบายใจอยู่เสมอ
การทำอะไรเพียงตัวคนเดียวเป็นเวลานานมันจึงมีโอกาสทำเราจะอยากเลิกทำมันซะดื้อ ๆ ได้ง่ายมากเลย
ยกตัวอย่างก็เช่นเรื่องเรียนภาษา หรือลดน้ำหนัก
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการทำนาน คนส่วนใหญ่ก็เลยล้มเลิกก่อนที่จะสำเร็จกันหมด
หนังสือพยายามบอกกับเรานะครับว่า คนส่วนใหญ่ที่ทำอะไรสำเร็จ เขาไม่ได้ทำเพียงลำพังนะครับ
แต่เขาเป็นคนที่เก่งในการใช้ตัวช่วยต่างหาก พวกเขาใช้แรงจากสิ่งอื่นมาช่วยตลอดเวลา
จึงสามารถทำการใหญ่ได้สำเร็จ ตัวช่วยหมายถึงการใช้แรงจากสิ่งอื่นนอกเหนือจากตัวเองครับ
พอผมมาคิดดูดี ๆ แล้วนะครับตอนนี้ผมดูหนังเรื่อง Steve Jobs พอ Steve Jobs เขาคิดไอเดียได้ เขาก็ไม่ได้วิ่งไปโรงรถของพ่อเลยทันทีใช่ไหมครับ
แต่สิ่งแรกที่เขาทำก็คือเขาวิ่งไปหาเพื่อนเขาก่อน แล้วก็ชักชวนให้เพื่อนเขา มาช่วยประกอบคอมในโรงรถของพ่อ
ในหนังสือยกตัวอย่างว่าสมมุติว่าถ้าเราจะยืนขายน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพนะครับ
เราก็จะขายได้เท่าที่เรามีกำลังที่จะยืนขายไหว
แต่ถ้าเราเปลี่ยนใหม่โดยการสร้างตู้ขายน้ำอัตโนมัติขึ้นมาเครื่องก็จะขายแทนเรา
ตลอด 24 ชั่วโมง และน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพก็จะขายได้เรื่อย ๆ โดยที่เราไม่เหนื่อย
คือในหนังสือ เขาพยายามอธิบายไว้ว่าคำว่าตัวช่วยในที่นี้ ไม่ได้แปลว่าแค่คนเท่านั้นครับ
แต่ยังรวมไปถึง ระบบการจัดการ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สภาพแวดล้อม
หรือการยืมมือคนอื่น
จริง ๆ หนังสือเล่มนี้เขาได้อธิบาย เรื่องของตัวช่วยไว้อย่างละเอียดมากครับถ้าใครมีเวลานี้ก็ผมแนะนำเลยครับเป็นหนังสือที่ดีจริง
ๆ
แต่สิ่งที่ผมจะเล่าให้ฟังในวันนี้ คือประสบการณ์จากคนที่ได้นำแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ไปใช้จริงครับ
และได้พบกับบางสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้บอก
เริ่มต้นเลย หลังจากที่ผมได้ฟังหนังสือเล่มนี้จบแล้วนะครับ
ผมก็เลิกคิดที่จะทำพอดแคสต์เพียงตัวคนเดียวอีกต่อไปครับ เพราะคิดดูให้ดี ๆ ถ้าผมทำพอดแคสต์คนเดียว อย่างมากที่สุดความสามารถของผมในตอนนี้ก็คงจะทำพอดแคสต์
ได้แค่อาทิตย์ละ 1 ตอน หรือถ้าขยันจริง ๆ ก็คงจะได้สัก
2 ตอน แต่ถ้าผมชวนคนอื่นมาทำกับผม
โดยแลกกับค่าตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับพวกเขา ผมก็จะมีพอดแคสต์ ไปลงช่องของตัวเอง
อาทิตย์ละ 5 ตอนเลยทีเดียว
ผมก็ไม่รอช้าครับรีบไปชักชวนพอดแคสเตอร์ที่ผมรู้จักและไม่รู้จัก แต่ชื่นชอบการพูดของเขา
มาทำด้วยกันในทันทีครับ แล้วดูเหมือนว่าการทำตามแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ในตอนเริ่มต้น
มันจะทำให้ผมมีความสุขมาก ๆ เลย เพราะคนส่วนใหญ่ที่ผมได้ชักชวนให้มาทำด้วยกัน เขาต่างรับปากผมว่าจะช่วยผมทำ
บางคนกระตือรือร้นมากจนผมตื่นเต้นไปด้วยเลยครับ
แต่หลังจากนั้นนะครับ เรื่องแรกที่ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงเลยก็เกิดขึ้นกับผมครับ
หลังจากที่ผมชักชวนพวกเขาให้มาทำพอดแคสต์กับผมได้ 7 คน ผมก็มีความสุขอย่างมากเลย
แต่ในขณะเดียวกันผมก็ขี้เกียจมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกัน ผมหมดเวลาไป 5 วันกับการไม่ยอมทำอะไรเลย
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ผมก็มีพอดแคสต์ของตัวเองที่ต้องทำเหมือนกัน ในวินาทีนั้นนะครับ มันมีอยู่แป๊บหนึ่งครับ
ที่ผมเหมือนจะเข้าใจความรู้สึกของกระต่ายในนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่าเลย
ทำไมกระต่ายมันไม่วิ่งเข้าเส้นชัยก่อนแล้วค่อยไปนอนกลางวัน
ทำไมอีกนิดเดียวจะเข้าเส้นชัยอยู่แล้ว มันถึงเลือกที่จะนอนกลางวันก่อน
เพราะตัวผมในตอนนี้กำลังทำเหมือนกับกระต่ายในนิทานเด๊ะ ๆ เลยครับ
พอผมโยนงานให้คนอื่นช่วยทำไปซะ 90% มันก็จะรู้สึกว่าอีกนิดเดียวก็จะสำเร็จแล้ว
ขอพักก่อนแล้วกัน เวลาเหลืออีกตั้งเยอะตั้งแยะเดี๋ยวค่อยทำก็ได้
ซึ่งในหนังสือนะครับ ไม่ได้กล่าวถึงว่าถ้าเราใช้ตัวช่วยต่าง ๆ ให้มาช่วยเราจนเราสบายแล้ว
เราจะเกิดขี้เกียจ ขึ้นมา และนี่คือเรื่องแรกครับ ที่หนังสือไม่ได้กล่าวถึง
แล้วผมประสบมันด้วยประสบการณ์ของตัวผมเอง
เรื่องที่ 2 ครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โหดร้ายกับผมอย่างมาก หลังจากที่ พอดแคสเตอร์
ทั้ง 7 คนรับปากว่าจะทำพอดแคสต์ให้กับผมแล้วนะครับ ซึ่งผมก็วางใจในฝีมือของพวกเขามาก
แต่พอใกล้จะถึงปลายปีพวกเขาก็เริ่มที่จะถอนตัวไปทีละคนสองคน ครับ
ซึ่งผมก็คิดอยู่แล้วล่ะครับว่า มันต้องมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น
เพราะเดือนธันวาคมมันเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยว่างกัน หรอก แต่ผมก็คิดว่าผมก็ชวนตั้ง
7 คนจะเลิกทำไปสักคนสองคนก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร
แต่เชื่อไหมครับสุดท้ายแล้วพอถึงวันที่ต้องลงพอดแคสต์จริง ๆ ถอนตัวกันครบทุกคนเลยครับ
เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ในหนังสือไม่ได้พูดไว้เหมือนกันครับ
นั่นก็คือความผันผวนและความไม่แน่ไม่นอนของตัวช่วย ในหนังสือ ดูเหมือนว่าเวลาเราใช้ตัวช่วย
ตัวช่วยก็จะทำงานให้กับเราอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ผมก็เพิ่งได้รู้เหมือนกันว่า
แม้ว่าเขาจะรับปากกับเราแล้ว แต่เขาก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ในหนังสือไม่ได้พูดถึงไว้เลยครับ
สุดท้ายวันที่ 1 มกราคมก็มาถึงครับ คุณผู้อ่านจึงได้รับฟังพอดแคสต์เพียงแค่รายการเดียวก็คือบทสรุปฉบับแฮมแฮม
พอดแคสต์
จริง ๆ ผมวางแผนไว้เยอะกว่านั้นมากเลยครับ
ตอนใกล้จะปลายปีนี้ผมก็มานั่งคิดนะว่า ผมพลาดตรงไหน
ผมได้สร้างระบบไว้แบบดีเยี่ยมหมดแล้วทุกอย่างมันเป็นไปได้ด้วยดี มีคนรับปากว่าจะช่วยเหลือ
ระบบแผนผังของรายการก็ทำเสร็จหมดแล้ว หน้าปกรายการต่าง ๆ ก็ออกแบบไว้เสร็จสรรพ
แต่ทำไมมันถึงพังไม่เป็นท่า
ตามความคิดของผมนะครับ ที่เรื่องราวมันออกมาเป็นแบบนี้ ไม่ใช่เพราะว่าแนวคิดในหนังสือมันผิด
หรอกครับ แต่อาจจะเป็นเพราะว่าผมเป็นมือใหม่ในการหัดใช้ตัวช่วยหรือเปล่า
คนที่เพิ่งหัดใช้ตัวช่วย level 1 อย่างผม
การที่จะทำให้มันออกมาได้ดีในครั้งแรกเลยมันก็คงจะเป็นไปไม่ได้
และนี่แหละครับคือจุดเริ่มต้นของช่องSummary of Ham ham กว่าจะเริ่มช่องได้ อุปสรรคเยอะแยะมากมาย
มันไม่ได้สบายสบายอย่างที่หลาย ๆ คนคิด
แต่ว่าตอนนี้ระบบมันก็เริ่มที่จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้วนะครับ
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากเรื่องนี้นะครับมีอยู่
2 ข้อด้วยกัน
เรื่องแรกก็คือ หนังสือบางเล่มอาจจะมีแนวคิดที่ดีมากก็จริงครับ
แต่ถ้าเราไม่ลองปฏิบัติตาม หรือลองนำแนวคิดในหนังสือไปใช้ดู เราก็อาจจะยังไม่รู้จริงก็ได้นะครับ
เพราะความรู้บางอย่างมีเพียงประสบการณ์จริงเท่านั้นที่จะบอกเราได้
และข้อที่สองก็คือ
สุดท้ายแล้วต่อให้เรามีตัวช่วยที่ดีมากแค่ไหน
แต่สิ่งที่เราจะทิ้งไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ ความพยายามด้วยตัวของเราเองครับ
เพราะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เขาทำงานหนักกันทุกคน
สามารถฟังบทความดีๆ ในรูปแบบของพอดแคสต์ได้นะครับ
จาก บทสรุปฉบับแฮมแฮม พอดแคสต์
ทุกแพลตฟอร์มเลยครับ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น