บทความ (แนะแนว) แชร์วิธีเอาตัวรอดในรั้วมหาลัย 1/3
ช่วงนี้มหาลัยก็เริ่มทยอยเปิดเทอมแล้วนะครับ
วันนี้ผมก็เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ที่มีนะครับ ในช่วงตอนที่เรียนมหาลัยให้กับคุณผู้อ่านที่กำลังจะ
เป็นนักศึกษาใหม่ ได้ฟังกันนะครับ
และผมเชื่อว่าจะต้องเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
เพราะผมมองว่า ประสบการณ์ชีวิต ที่ได้รับในตอนที่เรียนมหาลัย มันเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหา
หรือว่าทดแทนได้จากที่อื่นนะครับ
ดังนั้นการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตมหาลัย
จึงเป็นสิ่งที่ควรทำนะครับ
เพราะว่าเมื่อเราจบการศึกษาไปแล้ว เราอาจจะไม่มีโอกาสได้ย้อนกลับไปทำสิ่งที่ควรทำ
ในช่วงเวลานั้นอีกแล้วก็ได้นะครับ
ซึ่งถ้าพูดถึงก้าวแรกของชีวิตมหาลัยแล้ว เราก็คงจะนึกถึงการรับน้องใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้ว
มันยังมีสิ่งที่
เราต้องให้ความสำคัญก่อนหน้านั้นอยู่นะครับ
นั่นก็คือการเลือกคณะที่จะเรียนนั้นเอง เพราะว่าการเรียนในมหาลัย มันไม่ได้เหมือนกับตอนเราเรียนมัธยมนะสิครับ
คือตอนเรียนมัธยม เราอาจจะเอาความรู้ที่มีนะครับ ไปใช้เพื่อสอบ
ดังนั้นเมื่อเปิดเทอมวันแรกนะครับอาจารย์ก็จะเดินเข้ามาในห้อง
แล้วก็บอกกับนักเรียนทุกคนว่า ให้เปิดบทที่ 1
แต่การเรียนในระดับมหาลัย มันต่างออกไปนะครับ เพราะว่ามันไม่ได้เป็นการเริ่มจาก
0 เหมือนกับที่ผ่านมา
แต่มันคือการเริ่มต้นของคนที่สนใจในวิชานั้น ๆ ที่พวกเขา ได้ศึกษาและก็เรียนรู้ด้วยตัวเอง มาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้วนะครับ
ผมยกตัวอย่างเช่น สมมุติคุณผู้อ่าน เลือกเรียนนิเทศภาพยนตร์นะครับ ถ้าคุณผู้อ่านเข้าไปเรียนวันแรก
คุณผู้อ่านจะพบเลยนะครับว่า คนที่เรียน ไม่ใช่คนที่เพิ่งจะมาสนใจเกี่ยวกับภาพยนตร์นะครับ
แต่พวกเขา คือคนที่สนใจเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์
มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว
บางคน ฝึกใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอเป็น ตั้งแต่ยังไม่ได้เรียนเลย
บางคนชอบดูหนัง เป็นชีวิตจิตใจ ตั้งแต่เด็ก ๆ รู้จักหนังทุกเรื่อง รู้จักพอร์ตเรื่องทุกแบบ
แถมบางคน อาจจะโชคดีมาก ๆ มีเส้นสายเป็นคนในวงการ คืออาจจะมีพ่อ
เป็นผู้กำกับหนัง ก็เลยมาเลือกเรียนสาขานี้ เพื่อที่ว่า จบไป ก็จะได้มีงานทำเลย อะไรประมาณนั้นนะครับ
จะเห็นนะครับว่าคนส่วนใหญ่ที่เลือกเรียนมหาลัย เขาก็จะมีความชอบความสนใจในด้านนั้น ๆ หรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับด้านนั้น ๆ อยู่ก่อนแล้วนะครับ
ทำให้การเริ่มต้น ของการเรียนมหาลัย มันจึงไม่ได้เริ่มจาก 0 เหมือนที่คุณผู้อ่านหลายท่านเข้าใจนะครับ
ดังนั้นถ้าคุณผู้อ่านคิดว่า เราก็แค่ทำหัวให้โล่ง ๆ แล้วเดินเข้าไปตั้งใจเรียน
ให้เหมือนตอนเรียนมัธยม ก็อาจจะตามเพื่อนไม่ทันได้นะครับ
ซึ่งผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สำหรับก้าวแรก ในการเข้าสู่
การเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัยเลยก็ว่าได้ครับ
ดังนั้นสิ่งที่คุณผู้อ่านจำเป็นต้องทำเป็นอย่างแรกนะครับ แน่นอนครับ
หลังจากที่เราสอบเข้าเสร็จอะไรหมดแล้ว
มันก็จะยังมีเวลาว่างอยู่เป็นเดือน ๆ เลยใช่ไหมครับก่อนที่มหาลัยจะเปิดเทอม
แถมช่วงนี้มีโควิคด้วย ก็อาจจะเลื่อนออกไปอีกก็ได้นะครับ
ช่วงเวลานั้นล่ะครับ เราต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม ก่อนที่จะเริ่มเรียนจริง ๆ บอกเลยนะครับว่า ความตั้งใจอย่างเดียว มันไม่พอครับ เราต้องศึกษาด้วยตัวเองให้เป็นด้วย
สิ่งที่ต้องทำนะครับ ก็คือคุณผู้อ่าน อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาว่างตรงนี้ เสียเปล่าโดยเด็ดขาดเลยนะครับ
แต่ให้คุณผู้อ่าน พยายาม หาข้อมูลนะครับว่า
แต่ละเทอม เค้าเรียนวิชาอะไรกันบ้าง
แล้วก็พยายามทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
เพราะว่าบางวิชา มันไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้นนะครับ
ผมยกตัวอย่างเช่นสมมุติคุณผู้อ่านเรียนคอมพิวเตอร์ การปั้นโมเดล 3 มิติ แน่นอนว่า
มันไม่ใช่อะไรที่เราจะเรียนรู้ แล้วก็ทำตามได้ในเวลาอันสั้นนะครับ
คนที่จะปั้นโมเดล 3 มิติออกมาได้ดี เขาต้องฝึกฝนเป็นแรมปีกันเลยทีเดียว
ซึ่งการรู้วิชาที่เราต้องเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ มันมีประโยชน์อีกอย่างก็คือ
มันจะช่วยในการประเมินความสามารถของเราด้วยนะครับ ว่าเราจะเรียนได้รึเปล่า
เพราะผมเจอมาแล้วนะครับ มีเพื่อนผมคนหนึ่งครับ
เค้าตั้งใจที่จะเรียนคอมพิมเตอร์ แต่ว่าเค้า ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย ซึ่งตอนปี1ปี2 เค้าก็ยังพอที่จะถูไถไปได้ แต่พอขึ้นปี3 วิชามันจะเริ่มยากขึ้นเรื่อย
ๆ ครับ สุดท้ายเค้าก็เรียนไม่ไหวต้องสิ้ว เริ่มต้นใหม่เลย
ดังนั้นหากเราไม่มีพื้นฐานอะไรเลย มีแต่ความตั้งใจอย่างเดียว บอกเลยว่า อาจจะตามเพื่อน ๆ ไม่ทันก็ได้นะครับ
ซึ่งเคล็ดลับของการเรียนให้ดี มันก็มีอยู่หลายวิธีล่ะครับ
แต่งวิธีที่ผมรู้สึกว่า เข้าขั้นขีโกงเลย ก็มีอยู่เหมือนกันนะครับ และสิ่งนั้น ก็คือ Connection นั้นเองครับ
แต่ส่วนตัวผมนะครับ
ผมจะเรียกมันว่า เส้นสายมากกว่า
คุณผู้อ่านลองจินตนาการตามผมดูนะครับ สมมุติคุณผู้อ่านเลือกเรียนสาขาคอมพิวเตอร์
แล้วปรากฏว่าคุณผู้อ่าน มีญาติพี่น้องหรือว่ามีพ่อเป็นโปรแกรมเมอร์
จะเกิดอะไรขึ้น
สมมุติว่าพ่อของคุณผู้อ่านทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ เมื่อคุณผู้อ่านเรียนในห้องเรียน
แล้วไม่เข้าใจตรงไหน คุณผู้อ่าน ก็สามารถถามกับพ่อของคุณผู้อ่านได้
และแน่นอนโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์การทำงานจริง ย่อมมีความรู้มากกว่าอาจารย์ผู้สอนอย่างไม่ต้องสงสัย
ทำให้คุณผู้อ่านสามารถเข้าใจในบทเรียนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนะครับ
และแน่นอน อุปกรณ์การเรียนของคุณผู้อ่าน ก็จะล่ำหน้าเพื่อน ๆ ไปมากเลยครับ
เพราะคุณผู้อ่านสามารถหยิบยืมของจากที่บ้านมาใช้เรียนได้
แค่นั้นยังไม่พอครับ พอขึ้นปี4 ทางมหาลัยก็จะให้คุณผู้อ่าน
ไปฝึกงานที่บริษัทต่าง ๆ ถูกไหมครับ แล้วถ้าเกิดพ่อของคุณผู้อ่านทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่แล้ว
แน่นอนว่า คุณผู้อ่านก็สามารถฝึกงานที่เดียวกับบริษัทพ่อไปเลย
ก็ได้
แล้วหลังจากที่คุณผู้อ่านเรียนจบไป การหาสถานที่ทำงาน
ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปครับ เพราะพ่อของคุณผู้อ่าน ย่อมรู้จักคนในวงการนี้อยู่แล้ว
ดังนั้นการจะฝากฝังลูกสักคนหนึ่ง ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากจนเกินไป
เห็นไหมครับว่าการเลือกเรียนในสาขาวิชาที่เรามีเส้นสายมันมีประโยชน์มากแค่ไหน
แต่อย่างไรก็ตามนะครับ ผมก็ไม่ได้บังคับนะครับ แค่แนะนำเฉย ๆ ถ้าคุณผู้อ่าน มีสาขาวิชาที่ชอบ ที่อยากจะเรียนจริง
ๆ แต่ว่าไม่ได้มี Connection ใด ๆ เลย
ก็ไม่เป็นไรนะครับ
เพียงแต่เราอาจจะต้องทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนมากสักหน่อยก็เท่านั้นเอง
เรื่องราวน่าสนใจในรั้วมหาลัยยังอีกหลายประเด็นเลยนะครับ ไว้เดี๋ยว EP ถัดไปผมจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังอีกก็แล้วกันนะครับ
แต่สำหรับคืนนี้ ก็ขอให้ความสุขส่งไปถึงหัวใจ แล้วพบกันใหม่ ฝันดีครับ
สามารถฟังบทความดีๆ ในรูปแบบของพอดแคสต์ได้นะครับ
จาก บทสรุปฉบับแฮมแฮม พอดแคสต์
ทุกแพลตฟอร์มเลยครับ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น