บทความ งานวิจัยความสุข
ถ้าพูดถึงเรื่องของความสุขนะครับ
เชื่อว่า คุณผู้อ่าน อาจจะเคยได้ยิน
นิยามของมันมาแล้ว หลายต่อหลายครั้ง
เรื่องเล่า
แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสุข มากมายที่เราเคยได้อ่าน และเคยได้ฟังมา และหลาย ๆ ครั้งนะครับ
มันก็อาจจะฟังดูสมเหตุสมผล และน่าเชื่อถือมาก ๆ
แต่เชื่อเถอะครับ
ว่าไม่มีงานวิจัยใดที่เกี่ยวกับความสุขที่น่าเชื่อถือมากไปกว่านี้อีกแล้วครับ
เพราะงานวิจัยที่ผมจะเล่าให้คุณฟังได้ฟังต่อจากนี้นะครับเป็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของความสุข ที่ใช้เวลาในการศึกษานานที่สุดในโลกครับ
พวกเขาศึกษา
และหาคำตอบของคำถามที่ว่า ความสุขของมนุษย์คืออะไร
ซึ่งผมจะบอกว่างานวิจัยชิ้นนี้นะครับ
ได้ใช้เวลาในการศึกษาและหาคำตอบ ถึง 75 ปีกันเลยทีเดียว
ถึงขนาดที่ว่าต้องเปลี่ยนนักวิจัยนะครับ ถึง 4 รุ่นด้วยกัน
เรียกได้ว่านอกจากงานวิจัยชิ้นนี้จะยาวนานที่สุดในโลกแล้วนะครับ
นักวิจัยก็ยังจริงจังกันมาก ๆ อีกด้วย
ซึ่งเนื้อหางานวิจัยก็ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนมากมายนะครับเริ่มจากนักวิจัย
ก็ได้แบ่งกลุ่มของอาสาสมัครนะครับออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน
โดยกลุ่มที่
1 นะครับคือ นักศึกษาชายชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จำนวน 268คนครับ
และกลุ่มที่
2 ก็คือ วัยรุ่นชายในบอสตัน อายุ 12 ถึง 16 ปี
ที่ถูกเลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิดนะครับ จำนวน 456 คนครับ
รวมทั้งสิ้นนะครับ
มีอาสาสมัครในการเข้าร่วมการทดลองที่ยาวนานที่สุดในโลกครั้งนี้ ถึง 724 คนกันเลยทีเดียว
โดยเหตุผลนะครับ
ที่ต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
นั่นก็เพราะว่า
เขาอยากจะให้เห็นถึงความแตกต่างครับระหว่างกลุ่มที่หนึ่งที่เป็นนักศึกษาฮาร์วาร์ด
เพราะคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า นักศึกษาฮาร์วาร์ด ถือเป็นคนที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาครับ
เป็นคนฉลาดและก็น่าจะมีอนาคตไกล
ซึ่งต่างจากกลุ่มที่
2 ที่เป็นวัยรุ่นที่ถูกเลี้ยงดูในเมืองนะครับ
ได้รับการศึกษาบ้าง ไม่ได้รับการศึกษาบ้าง
โดยงานวิจัยนะครับ
เริ่มจากการติดตามศึกษาชีวิตของอาสาสมัครทั้ง 724คนครับ
นั่นคือทุก
ๆ 2 ปีนะครับ
อาสาสมัครทุกคนจะต้องมาทำแบบสอบถาม เกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตัวเองครับ
ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน ด้านสังคม ด้านความรัก ด้านชีวิตส่วนตัว
นักวิจัยยังได้เดินทางไปที่บ้านของอาสาสมัครทุกคนด้วยครับ
เพื่อที่จะ ได้สอบถาม และพูดคุยกับญาติญาติ และคนรอบตัวของพวกเขานะครับ
เรียกได้ว่าเก็บข้อมูลกันละเอียดยิบเลยทีเดียว
และทุก
ๆ 5 ปีนะครับ
อาสาสมัครทุกคน ก็จะได้รับการตรวจสุขภาพครับ
ตรวจทุกซอกทุกมุมของร่างกาย สแกนสมองดูให้หมดว่า
มีการพัฒนาและเติบโตอย่างไรบ้างนะครับ
แล้วเมื่อเวลาผ่านไปนะครับ
ก็ดูเหมือนกับว่า จะมีอาสาสมัครส่วนหนึ่งครับ ที่ประสบความสำเร็จในด้านการงานมีหน้ามีตาในสังคม
มีเงินทองมากมาย ร่ำรวยนะครับ
แล้วก็เป็นธรรมดาครับ
ก็จะมีคนอีกส่วนหนึ่ง
ที่ประสบพบเจอกับความล้มเหลว
ในชีวิตนะครับ รู้สึกผิดหวังและสิ้นหวังกับชีวิตของตัวเองมาก ๆ
บ้างคนนะครับ
ถึงขนาดติดเหล้าหรือไม่ก็เสพยาเลยก็มี
จนมาถึงตอนจบของงานวิจัยนะครับ
จากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครทั้ง
724คน ผ่านไป 75 ปีก็ตายกันเกือบหมดแล้วครับ
ปัจจุบันนี้เหลือรอดอยู่แค่ 60 คนเท่านั้น
ซึ่งแต่ละคน ก็อายุ90 ปี กันทุกคนแล้วนะครับ
ก็คิดว่าถ้าทำการวิจัยต่อ
ก็คงจะไม่เหลืออาสาสมัครแล้วนะครับ
งานวิจัยจึงต้องขอจบลงเพียงเท่านี้
เอาล่ะครับ
เรามาฟังผลการวิจัยกันดีกว่า หลังจากได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างของอาสาสมัคร 724คน
โดยการติดตามและศึกษาการใช้ชีวิตของพวกเขาทั้งชีวิตนะครับ
นักวิจัยนะครับได้ค้นพบว่า
ข้อที่
1 ครับ
ความร่ำรวย ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขครับ
ข้อที่สอง
ความโด่งดัง การเป็นที่รู้จัก การเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม
ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขอีกเช่นกัน
หรือแม้แต่การทุ่มเททำงานอย่างหนัก
ทั้งชีวิต แล้วประสบความสำเร็จ ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขครับ
ถ้าพูดเป็นภาษาเราก็คงจะแปลว่า
ชื่อเสียง เงินทอง หน้าที่การงาน
มันไม่ได้ทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริงนั่นเองครับ
เพราะเมื่อไปถึงจุด
ๆ หนึ่งนะครับ อาสาสมัครที่ได้รับสิ่งเหล่านั้น หรือกำลังวิ่งไล่ตามสิ่งเหล่านั้นทั้งชีวิต
พวกเขากลับไม่มีความสุขในชีวิตของพวกเขาเลย
แต่งานวิจัยชิ้นนี้
กลับค้นพบสิ่งที่น่าตกใจมาก ๆ ครับ เพราะพวกเขาค้นพบว่า จริง ๆ แล้ว
คำตอบที่แท้จริงของชีวิตที่มีความสุข
นั่นก็คือ
การมีความสัมพันธ์ที่ดีนั่นเองครับ
จากงานวิจัยครั่งยิ่งใหญ่ทีใช้เวลาศึกษากว่า
75 ปีนะครับ พวกเขาได้ ข้อสรุปที่เรียบง่ายมากเลยครับ
เพราะพวกเขาค้นพบว่า คนที่ให้ความสำคัญและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบตัว
พวกเขาจะมีความสุขกับชีวิตอย่างแท้จริงครับ
ซึ่งนักวิจัยรุ่นล่าสุดนะครับ
เขาก็ได้วิเคราะห์ถึงเรื่องของความสัมพันธ์ไว้อย่างน่าสนใจมากครับ
เขามองว่า
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่นะครับ เลือกที่จะละเลยและไม่ใส่ใจความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
แต่กลับไปวิ่งไล่ตามชื่อเสียงและก็เงินทองแทน นั่นก็เพราะว่า
ความสัมพันธ์
มันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนครับ
อาจจะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่เอาเข้าจริง การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นไว้ เป็นทักษะที่ต้องเข้าใจพอสมควรเลยทีเดียว
ก็ยกตัวอย่างเช่น
วันนี้เราอาจจะสนิทกันนะครับ
แต่อนาคต
เราอาจจะเลิกคบกันก็ได้
หรือวันนี้เราอาจจะรู้สึกดี
ๆ ต่อกัน แต่วันนึงอาจจะทะเลาะกันด้วยเรื่องบางเรื่อง
จนในที่สุดก็เลิกคบกันไปก็ได้
เพราะเรื่องของความสัมพันธ์มันอ่อนไหวและละเอียดอ่อนแบบนี้ไงครับ
คนจึงรู้สึกว่า การทุ่มเท ลงทุน ลงแรงเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย ก็มันไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า วันข้างหน้า
เราจะยังรู้สึกดี ๆ ต่อกันอยู่รึเปล่า
ซึ่งต่างจากการสร้างชื่อเสียงและหาเงินทอง
ที่มันตรงไปตรงมากว่านะครับ
นั่นคือ
ไม่ได้กำไร ก็ขาดทุน
อีกอย่างนึงนะครับมนุษย์เรา
ถ้าตัดเรื่องความสุขออกไปนะครับ
ยังไงการใช้ชีวิตมันก็ต้องใช้เงินครับ
ดังนั้นไม่ว่ายังไงทุกคนก็ต้องหาเงินอยู่แล้ว
แต่อย่างไรก็ตามนะครับ
สิ่งที่นักวิจัยพูดไว้ก็คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้น มีวิธีการอยู่ครับ
แล้วมันก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด และที่สำคัญ สุดท้ายแล้ว ผลการวิจัยก็ออกมาแล้วด้วยไงครับว่า
ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างจะทำให้เรามีความสุข
ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไร
ที่เราจะไม่สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
หากเราอยากที่จะมีชีวิตทั้งชีวิตที่มีความสุขครับ
ความสัมพันธ์ที่ดี
เริ่มต้นจากการเงย หน้าขึ้นมาจากโทรศัพท์ แล้วยิ้มให้ใครสักคนนะครับ
ก่อนที่จะชวนพวกเขาออกไปทำอะไรสักอย่างนึง
ค่อย
ๆ สะสมช่วงเวลาดี ๆ ที่อยู่ร่วมกัน แล้ววันคือเหล่านั้น
จะถูกแปรเปลี่ยนกลายเป็นความสุข
ที่ประเมินค่าไม่ได้ ในเวลาต่อมาครับ
สามารถฟังบทความดีๆ ในรูปแบบของพอดแคสต์ได้นะครับ
จาก บทสรุปฉบับแฮมแฮม พอดแคสต์
ทุกแพลตฟอร์มเลยครับ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น